ทำไมบริษัทยักษ์ใหญ่ถึงล้มเหลว

shutterstock_23811781 (Custom)

มีเหตุผลพื้นฐานบางอย่างที่อธิบายได้ว่าทำไมบริษัทไม่สามารถคิดแบบนี้ได้และทำไมบางบริษัทจึงล้าหลัง กลยุทธ์และการวางกลยุทธ์ในบริษัททั้งหลายเป็นเรื่องของชนชั้นผู้นำ

ขณะที่เราบอกกับพนักงานว่า

“เอาสมองของคุณมาทำงานด้วย” เราเพียงอนุญาตให้พวกเขามีส่วนร่วมในการพัฒนาในภาคปฏิบัติเท่านั้น

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ คุณกำลังบอกว่า

“คุณสามารถนำสมองมาทำงานในเรื่องการปรับปรุงคุณภาพ คุณสามารถนำสมองมาทำงานในด้านของการรีเอ็นจิเนียริ่งกระบวนการ แต่การวางกลยุทธ์และการกำหนดทิศทางของบริษัทนั้นเป็นเรื่องของผู้บริหารระดับสูง”

ดังนั้นเราจึงจำกัดการสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในองค์กรด้วยการให้การวางกลยุทธ์อยู่ในมือของชนชั้นผู้นำ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณวาดพีระมิดขององค์กรกับผู้บริหารอาวุโสระดับสูง คุณจำเป็นต้องตั้งคำถามว่าที่พีระมิดนั้นคุณจะพบความหลากหลายทางพันธุกรรมได้ที่ไหน ในเมื่อต้องคิดด้วยแนวทางแตกต่างกันเกี่ยวกับอนาคตของอุตสาหกรรม และในพีระมิดนั้นคุณจะพบผู้บริหารที่ลงทุนทางอารมณ์กับอดีตได้ที่ไหน (Emotional Equity Invested In The Past)

มันอยู่ที่ระดับสูง

จากนั้นคุณก็ถามว่า ใครคือคนที่เรามอบความรับผิดชอบด้านการวางกลยุทธ์และกำหนดทิศทาง

ก็คนเดิมอีกนั่นแหละ

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ‘เราจะไม่ได้สิ่งที่สร้างสรรค์ใหม่ๆ เลย’

ดังนั้นนี่คือสิ่งที่ตัดสินใจเลือกยาก (Dilemma) ที่เกิดขึ้นในองค์กรใหญ่ และเราต้องทำลายทัศนคติของชนชั้นผู้นำเกี่ยวกับวิธีการวางกลยุทธ์

สิ่งที่ขมขื่นสำหรับผมก็คือ ปัจเจกชนในองค์กรที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่ออนาคตขององค์กรก็คือคนหนุ่มสาว เนื่องเพราะอาชีพของเขาตกอยู่ในความเสี่ยง

คุณก็รู้ว่าเมื่อ จอห์น เอเคอร์ ต้องเกษียณก่อนอายุ 58 หรือ 59 เขาอาจเสียเวลาในอาชีพไปสองสามปีเท่านั้น

แต่เมื่อคุณลอยแพพนักงาน 200,000 คน และส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาว มันก็เป็นเรื่องราวที่แตกต่างออกไปแล้ว

ส่วนใหญ่พวกเขาและเธอคงหางานใหม่ได้ แต่เขาก็มีความเสี่ยงมากขึ้นกว่าเดิม และปัจเจกชนเหล่านั้นผู้ซึ่งมีส่วนได้ส่วนเสียทางอารมณ์ (Emotional Stake) ต่ออนาคต ก็คือคนที่เกี่ยวพันกับอนาคตขององค์กรน้อยที่สุด

หลังจากนั้นมันก็คือคนเหล่านั้นแหละที่ใกล้ชิดกับอนาคตมากที่สุด

ใส่ความเห็น